วันอังคารที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2558

การแยกแยะหลักฐานทางประวัติศาสตร์

การแยกแยะหลักฐานทางประวัติศาสตร์



การแยกแยะหลักฐานทางประวัติศาสตร์

             หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่เป็นลายลักษณ์อักษรจะมีการเขียนเรื่องราวทางประวัติศาสตร์  เรื่องราวที่จดบันทึกไว้เรียกว่าข้อมูล  เมื่อจะใช้ข้อมูลควรต้องดาเนินการ ดังนี้

            1. การแยกแยะความแตกต่าง ระหว่างข้อเท็จจริงกับความคิดเห็น ข้อมูลเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ นั้นจะมีทั้งข้อเท็จจริงกับความคิดเห็นของผู้เขียน ผู้บันทึก หรือผู้แต่ง ข้อเท็จจริง เป็นข้อมูลจากหลักฐานต่าง ๆ ซึ่งอาจตรงกันบ้าง ไม่ตรงกันหรือขัดแย้งกันบ้าง แต่ความคิดเห็น เป็นส่วนที่ผู้เขียน  ผู้บันทึก  หรือผู้แต่ง ผู้ใช้หลักฐาน คิดว่าข้อมูลที่ถูกต้องน่าจะเป็นอย่างไร

            2. การแยกแยะระหว่างความจริงกับข้อเท็จจริง ข้อมูลหรือเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ เรียกว่า ข้อเท็จจริง คำว่า ข้อเท็จจริง แยกออกเป็น ข้อเท็จจริงกับข้อจริง เรื่องราวทางประวัติศาสตร์จึงประกอบด้วย

              ข้อเท็จจริงกับข้อจริงหรือความจริง เช่น
              เรื่องราวการเสีย กรุงศรีอยุธยา ครั้งที่ 1 (พ.ศ. 2112) การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2( พ.ศ. 2310 )
ความจริง คือ ไทยเสียกรุงศรีอยุธยาใน พ.ศ. 2112  และ  พ.ศ. 2310
ส่วนข้อเท็จจริง  คือ  ข้อมูลที่เป็นคำอธิบายที่ปรากฏในหลักฐานทั้งหลายว่า  ทำไมไทยจึงเสียกรุงศรีอยุธยา  เช่น

                คนไทยเตรียมตัวไม่พร้อม  ผู้น่าอ่อนแอและมีความแตกแยกภายใน  ทหารมีจำนวนน้อย  มีอาวุธล้าสมัยและมีจำนวนไม่พอเพียง ข้าศึกมีผู้นำที่เข้มแข็งและมีความสามารถสูง  มีทหารจำนวนมากกว่าและมีอาวุธดีกว่า  ค าอธิบายดังกล่าวอาจถูกต้องหรือไม่ถูกต้อง ซึ่งเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าเป็นความจริงหรือไม่เป็นความจริง  ดังนั้นจึงเรียกคำอธิบายหรือเหตุผลว่า  ข้อเท็จจริง ดังนั้น  ในการศึกษาเรื่องราวทางประวัติศาสตร์  นักเรียนจึงต้องค้นคว้าข้อมูลจากหลักฐาน หลายแหล่งหรืออ่านหนังสือหลายเล่ม  เพื่อจะได้สามารถแยกแยะว่าเรื่องใดเป็นความจริง เรื่องใดเป็นข้อเท็จจริง  เรื่องนี้ยังเป็นประโยชน์ในการรับรู้  รับฟังข้อมูลหรือเรื่องราวทั้งหลายในชีวิตประจำวันว่าเรื่องใดควรเชื่อ  และเรื่องใดไม่ควรเชื่อ



ขั้นตอนวิธีการทางประวัติศาสตร์

ขั้นตอนที่ 1 การกำหนดเป้าหมาย

            ขั้นการกำหนดเป้าหมาย เป็นขั้นตอนแรก นักประวัติศาสตร์ต้องมีจุดประสงค์ชัดเจนว่าจะศึกษาอะไร อดีตส่วนไหน สมัยอะไร และเพราะเหตุใด เป็นการตั้งคำถามที่ต้องการศึกษา นักประวัติศาสตร์ต้องอาศัยการอ่าน การสังเกต และควรต้องมีความรู้กว้างๆ ทางประวัติศาสตร์ในเรื่องนั้นๆมาก่อนบ้าง ซึ่งคำถามหลักที่นักประวัติศาสตร์ควรคำนึงอยู่ตลอดเวลาก็คือทำไมและเกิดขึ้นอย่างไร

ขั้นตอนที่ 2 การรวบรวมข้อมูล 

            หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ให้ข้อมูล มีทั้งหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร และหลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร มีทั้งที่เป็นหลักฐานชั้นต้น(ปฐมภูมิ) และหลักฐานชั้นรอง(ทุติยภูมิ) ขั้นตอนที่ 3 การประเมินคุณค่าของหลักฐาน

ขั้นตอนที่ 3 การประเมินคุณค่าของหลักฐาน

            วิพากษ์วิธีทางประวัติศาสตร์ คือ การตรวจสอบหลักฐานและข้อมูลในหลักฐานเหล่านั้นว่า มีความน่าเชื่อถือหรือไม่ ประกอบด้วยการวิพากษ์หลักฐานและวิพากษ์ข้อมูลโดยขั้นตอนทั้งสองจะกระทำควบคู่กันไป เนื่องจากการตรวจสอบหลักฐานต้องพิจารณาจากเนื้อหา หรือข้อมูลภายในหลักฐานนั้น และในการวิพากษ์ข้อมูลก็ต้องอาศัยรูปลักษณะของหลักฐานภายนอกประกอบด้วยการวิพากษ์หลักฐานหรือวิพากษ์ภายนอก

ขั้นตอนที่ 4 การตีความหลักฐาน 

           การตีความหลักฐาน หมายถึง การพิจารณาข้อมูลในหลักฐานว่าผู้สร้างหลักฐานมีเจตนาที่แท้จริงอย่างไร โดยดูจากลีลาการเขียนของผู้บันทึกและรูปร่างลักษณะโดยทั่วไปของประดิษฐ์กรรมต่างๆเพื่อให้ได้ความหมายที่แท้จริงซึ่งอาจแอบแฟงโดยเจตนาหรือไม่ก็ตาม

ขั้นตอนที่ 5 การสังเคราะห์และการวิเคราะห์ข้อมูล

            จัดเป็นขั้นตอนสุดท้ายของวิธีการทางประวัติศาสตร์ ซึ่งผู้ศึกษาค้นคว้าจะต้องเรียบเรียงเรื่อง หรือนำเสนอข้อมูลในลักษณะที่เป็นการตอบหรืออธิบายความอยากรู้ ข้อสงสัยตลอดจนความรู้ใหม่ ความคิดใหม่ที่ได้จากการศึกษาค้นคว้านั้นลักษณะ ประเภท และความสำคัญของหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ความหมายและความสำคัญของประวัติศาสตร์

         ประวัติศาสตร์ เป็นวิชาที่ว่าด้วยพฤติกรรมหรือเรื่องราวของมนุษย์ที่เกิดขึ้นในอดีต ร่องรอยที่คนในอดีตสร้างเอาไว้ เป้าหมายของการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ คือ การเข้าใจสังคมในอดีตให้ใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุด เพื่อนำมาเสริมสร้างความเข้าใจในสังคมปัจจุบัน

การประเมินความน่าเชื่อถือของหลักฐานทางประวัติศาสตร์

การประเมินความน่าเชื่อถือของหลักฐานทางประวัติศาสตร์


การประเมินความน่าเชื่อถือของหลักฐานทางประวัติศาสตร์

        การศึกษาประวัติศาสตร์ จำเป็นต้องอาศัยหลักฐานต่าง ๆ เกี่ยวกับเรื่องนั้น ๆ มาศึกษาวิเคราะห์ ตีความเรื่องราว และตรวจสอบความถูกต้องของเรื่องราวเหตุการณ์นั้น ๆ หลักฐานที่เกี่ยวข้องกับเรื่องราวประวัติความเป็นมาของมนุษย์ เรียกว่า หลักฐานทางประวัติศาสตร์ ซึ่งสามารถแยกได้ดังนี้

        1. หลักฐานทางศิลปกรรมและโบราณคดี หลักฐานทางศิลปกรรมที่สำคัญ คือ ศิลปวัตถุแบบอู่ทอง ศิลปวัตถุแบบลพบุรี ศิลปวัตถุแบบทวารวดี นอกจากนี้ได้แก่ เงินตรา ซากอิฐปูนของวัดวาอาราม พระพุทธรูป เครื่องใช้ตามบ้านเรือน ฯลฯ

         2. หลักฐานที่เป็นหนังสือเก่านั้นมักจะเขียนลงบนสมุดข่อยหรือใบลาน เช่น ตำนานสิงหนวัติ (เล่าเรื่องตั้งแต่พระเจ้าสิงหนวัติอพยพมาจากเหนือ)  จามเทวีวงศ์ (เป็นเรื่องเมืองหริภุญไชย)  รัตน์พิมพ์วงศ์ (เป็นตำนานพระแก้วมรกต) สิหิงคุนิทาน (เป็นประวัติพุทธศาสนาและประวัติเมืองต่าง ๆ ในลานนาไทย)  จุลยุทธ์กาลวงศ์ (เป็นพงศาวดารไทย ตั้งแต่สมัยพระเจ้าอู่ทอง ตลอดสมัยอยุธยา)  ตำนานสุวรรณโคมคำ และตำนานมูลศาสนา (เป็นเรื่องราวประวัติศาสตร์ไทยก่อนสมัยสุโขทัย) ปัญหาของหลักฐานที่เป็นหนังสือเก่า คือ เราไม่ทราบว่าผู้บันทึกเขียนไว้เมื่อไร มีความจริงแค่ไหน และแต่งเติมเพียงใด

         3. หลักฐานที่เป็นศิลาจารึก ศิลาจารึกถือว่าเป็นหลักฐานที่สำคัญมากในการศึกษาประวัติศาสตร์ไทยในระยะเริ่มแรกสมัยสุโขทัยที่สำคัญได้แก่ ศิลาจารึกหลักที่ 1 (จารึกพ่อขุนรามคำแหง)  ศิลาจารึกหลักที่ 2 (จารึกวัดศรีชุม) , ศิลาจารึกหลักที่ 3 (จารึกนครชุม) ศิลาจารึกหลักที่ 4 (จารึกวัดป่ามะม่วง)  ศิลาจารึกหลักที่ 8 ข. (จารึกวัดพระมหาธาตุ)  จารึกหลักที่ 24 (จารึกวัดหัวเวียงไชยา) จารึกหลักที่ 35 (จารึกดงแม่นางเมือง นครสวรรค์)  จารึกหลักที่ 62 (จารึกวัดพระยืน ลำพูน) ฯลฯ หมายเหตุ ศิลาจารึกให้ลำดับหลักตามการค้นพบ ก่อน – หลัง

         4. หลักฐานพวกที่เป็นพงศาวดารพระราชพงศาวดารสยามมีมากมาย แต่ที่มีความสำคัญต่อการศึกษาประวัติศาสตร์ไทย ได้แก่

           4.1 พระราชพงศาวดารสยามที่แต่งในสมัยอยุธยา คือ ฉบับหลวงประเสริฐ

           4.2 พระราชพงศาวดารสยามที่แต่งในสมัยรัตนโกสินทร์ แยกเป็น 3 รัชกาล คือ          

                     4.2.1 ฉบับรัชกาลที่ 1 มี 4 สำนวน คือ ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม), ฉบับเจ้าพระยาพิพิธพิชัย ฉบับพระพันรัตน์ ฉบับบริติชมิวเซียม

             4.2.2 ฉบับรัชกาลที่ 3 มี 1 สำนวน คือ ฉบับสมเด็จกรมพระปรมานุชิตชิโนรส

             4.2.3 ฉบับรัชกาลที่ 4 มี 4 สำนวน คือ ฉบับพระราชหัตถเลขา

         4.3 พระราชพงศาวดารฉบับอื่น ๆ คือ พระราชพงศาวดารกรุงเก่าฉบับพระจักรพรรดิพงศ์ (จาด) พงศาวดารเหนือ พงศาวดารโยนก

         5. หลักฐานที่เป็นจดหมายเหตุชาวต่างประเทศหลักฐานพวกนี้เป็นหลักฐานภาษาต่างประเทศ เพราะมีชาวยุโรปหลายชาติเข้ามาติดต่อในสมัยอยุธยา หลักฐานเหล่านี้อยู่ในรูปของบันทึก จดหมายเหตุ จดหมายถึงผู้บังคับบัญชา จดหมายของข้าราชการและพ่อค้า เอกสารทางการทูต บันทึกของมิชชันนารี เช่น จดหมายเหตุของลาลูแบร์ บันทึกของบาดหลวงเดอ ชั่ว สี จดหมายเหตุวันวิลิต เอกสารฮอลันดา ฯลฯ อ้างอิงจาก (สุริยันตร์ เชาวน์ปรีชา: เอกสารประกอบ การสัมมนาประวัติพระยาพิชัยดาบหักเพื่อการจัดทำหลักสูตรบุคคลสำคัญท้องถิ่น

หลักเกณฑ์การประเมินค่าของหลักฐานทางประวัติศาสตร์ แบ่งเป็น 2 ประเภท

       1. การวิเคราะห์และประเมินคุณค่าหลักฐานจากภายใน หมายถึง การตรวจสอบความน่าเชื้อถือของหลักฐานว่า มีความน่าเชื่อถือมาก ปานกลาง หรือไม่น่าเชื่อถือทั้งหมด ซึ่งจะต้องใช้ด้วยความระมัดระวัง และควรตรวจสอบดังนี้

         1.1 ช่วงระยะเวลาของเหตุการณ์และการบันทึก ได้ทันเหตุการณ์ความถูกต้องย่อมมีมากขึ้น

         1.2 จุดมุ่งหมายของผู้บันทึก บางคนตั้งใจบันทึกได้ทันเหตุการณ์ความถูกต้องย่อมมีมากขึ้นเท่านั้น

         1.3 ผู้บันทึกรู้ในเรื่องราวนั้นจริงหรือไม่ เรื่องราวที่อ้างอิงมาจากบุคคลอื่นหรือเป็นคำพูดของผู้บันทึกเอง

         1.4 คุณสมบัติของผู้บันทึกเกี่ยวกับการศึกษาเล่าเรียน สภาพแวดล้อมน่าเชื่อถือหรือไม่ ขณะที่บันทึกนั้นสภาพร่างกายหรือจิตใจปกติหรือไม่มีความกดดันทางอารมณ์ หรือถูกบีบบังคับให้เขียนหรือไม่ข้อความในหลักฐานที่อาจเกิดการคัดลอกหรือแปลผิดพลาดหรือมีการต่อเติมเกิดขึ้น

         1.5 ข้อความนั้นมีอคติเกี่ยวกับเชื้อชาติ ศาสนา ลัทธิการเมือง ฐานะทางเศรษฐกิจ สังคมหรือไม่

         1.6 วิธีการในการบันทึกใช้วิธีการบันทึกอย่างไร ถี่ถ้วนมีอรรถรสหรือเป็นการบันทึกโดยการสืบหาสาเหตุอย่างเที่ยงธรรม ถ้าหากผู้บันทึกใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์บันทึกเหตุการณ์ จะทำให้เป็นหลักฐานที่น่าเชื่อถือ

       2. การประเมินคุณค่าหลักฐานจากภายนอก เป็นการมุ่งวิเคราะห์และพิสูจน์หลักฐานว่า เป็นของจริงหรือของปลอม ไม่ว่าจะเป็นบางส่วนหรือทั้งหมด โดยอาศัยวิธีการเปรียบเทียบกับหลักฐานอื่น อย่างไรก็ตาม การตรวจสอบหลักฐานว่าจริงหรือปลอมนั้น ผู้ศึกษาไม่สามารถตรวจสอบด้วยตนเองได้ทั้งหมด เพราะต้องใช้ความรู้ความสามารถเฉพาะทางจริง ๆ จึงต้องอาศัยผลงานหรือขอความร่วมมือจากผู้เชี่ยวชาญสาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งส่วนนี้จะเป็นการตรวจสอบหาข้อบกพร่องของ

หลักฐานทางประวัติศาสตร์

หลักฐานทางประวัติศาสตร์


หลักฐานทางประวัติศาสตร์

            แหล่งข้อมูลทางประวัติศาสตร์ในการศึกษาปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคมไทยแต่ละยุคสมัยอาจจำแนกได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้

  1. หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร ได้แก่ หลักฐานที่เป็นตัวหนังสือโดยมนุษย์ได้ทิ้งร่องรอยขีดเขียนเป็นตัวหนังสือประเภทต่างๆ ในรูปของการจารึกในศิลาจารึกและการจารึกบนแผ่นโลหะ นอกจากนี้หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่เป็นลายลักษณ์อักษรประเภทอื่น เช่น พงศาวดาร จดหมายเหตุ ตำนาน และกฎหมาย
  2. หลักฐานที่เป็นวัตถุ ได้แก่ วัตถุที่มนุษย์แต่ละยุคแต่ละสมัยได้สร้างขึ้น และตกทอดมาจนถึงปัจจุบัน เช่น โบราณสถาน ประกอบด้วย วัด เจดีย์ มณฑป และโบราณวัตถุ ประกอบด้วย พระพุทธรูป ถ้วยชามสังคโลก

   
การแบ่งลำดับความสำคัญของหลักฐานทางประวัติศาสตร์เป็น 2 ประเภท คือ

  1. หลักฐานชั้นต้นหรือหลักฐานปฐมภูมิ เป็นหลักฐานที่มาจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้นจริงๆ โดยมีการบันทึกของผู้ที่เกี่ยวกับเหตุการณ์โดยตรง หรือผู้ที่รู้เหตุการณ์นั้นด้วยตนเอง  ดังนั้นหลักฐานช่วงต้น  จึงเป็นหลักฐานที่มีความสำคัญและน่าเชื่อถือมากที่สุด  เพราะบันทึกของบุคคลที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์หรือผู้อยู่ในเหตุการณ์บันทึกไว้  เช่น  จดมายเหตุ คำสัมภาษณ์  เอกสารทางราชการ  บันทึกความทรงจำ  กฎหมาย  หนังสือพิมพ์  ภาพยนตร์  สไลด์  วีดิทัศน์       แถบบันทึกเสียง โบราณสถาน  แหล่งโบราณคดี  โบราณวัตถุ
  2. หลักฐานชั้นรองหรือหลักฐานทุติยภูมิ เป็นหลักฐานที่เขียนขึ้นโดยบุคคลที่ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์นั้นโดยตรง โดยมีการเรียบเรียงขึ้นภายหลังจากเกิดเหตุการณ์นั้นๆ ส่วนใหญ่อยู่ในรูปของบทความทางวิชาการและหนังสือต่างๆ เช่น พงศาวดาร ตำนาน บันทึกคำบอกเล่า ผลงานทางการศึกษาค้นคว้าของนักวิชาการ  สำหรับหลักฐานชั้นรองนั้นมีข้อดี   คือ  มีความสะดวกและง่ายในการศึกษาทำความเข้าใจ  เนื่องจากเป็นข้อมูลได้ผ่านการศึกษาค้นคว้า  ตรวจสอบข้อมูล  วิเคราะห์เหตุการณ์และอธิบายไว้อย่างเป็นระบบ  โดยนักประวัติศาสตร์มาแล้ว

ลักษณะสำคัญของหลักฐานประวัติศาสตร์ในประเทศไทย

           หลักฐานทางประวัติศาสตร์ในประเทศไทย มีอยู่หลายลักษณะ อาจแบ่งลักษณะสำคัญของหลักฐานออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ

1. หลักฐานที่ไม่ใช่ลายลักษณ์อักษร ได้แก่

1.1 โบราณสถาน หมายถึง สิ่งก่อสร้างโดยฝีมือมนุษย์ขนาดต่างๆกัน อยู่ติดกับพื้นดินไม่อาจนำเคลื่อนที่ไปได้ เช่น กำแพงเมือง คูเมือง วัง วัด ตลอดจนสิ่งก่อสร้างที่อยู่ในวัด และวัง เช่น โบสถ์ วิหาร เจดีย์ และที่อยู่อาศัย การศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับโบราณสถาน จำเป็นต้องเดินทางไปยังสถานที่ตั้งของโบราณสถานนั้นๆ

ปราสาทหินพิมาย     

 
ปราสาทหินพนมรุ้ง                               
ที่มาภาพ  http://www.thaigoodview.com/files/u1300/pimai.jpg      ที่มาภาพ : http://www.kodhit.comimages/stories/travel/
norteast/phasadkhow/12.jpg

1.2 โบราณวัตถุ หมายถึง สิ่งของโบราณที่มีลักษณะต่างๆกัน สามารถนำติดตัว เคลื่อนย้ายได้ ไม่ว่าสิ่งของนั้นๆ จะเกิดขึ้นตามธรรมชาติ  เป็นสิ่งที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้น หรือเป็น  ส่วนหนึ่งส่วนใดของโบราณสถาน และสิ่งของที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้นเหล่านี้เกิดขึ้นในสมัยประวัติศาสตร์ เช่น พระพุทธรูป เทวรูป รูปเคารพต่างๆ เครื่องประดับ และเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ

               การศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับโบราณวัตถุ ไม่จำเป็นต้องเดินทางไปยังสถานที่ทางประวัติศาสตร์เสมอไป และสามารถไปศึกษาได้จากแหล่งรวบรวมทั้งของราชการ เช่น พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ

 เครื่องปั้นดินเผาในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเชียง 


 หม้อบ้านเชียง

ที่มาภาพ : http://www.thaitourzone.com/eastnorth/udon/museum.JPG
ที่มาภาพ : http://gaprobot.spaces.live.com/blog/cns!EDF1593B634FDF0!319.entry

2. หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร ได้แก่
                2.1 จารึก ในแง่ของภาษาแล้วมีคำอยู่ 2 คำที่คล้ายคลึงและเกี่ยวกับข้องกัน คือ
คำว่า จาร และจารึก
คำว่า จาร แปลว่า เขียนอักษรด้วยเหล็กแหลมลงบนใบลาน
คำว่า จารึก แปลว่า เขียนเป็นรอยลึกลงบนแผ่นศิลาหรือโลหะ

                ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับหลักฐานทางประวัติศาสตร์ คำว่า จารึก หมายรวมถึง หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งใช้วิธีเขียนเป็นรอยลึก ถ้าเขียนเป็นรอยลึกลงบนแผ่นหิน เรียกว่า ศิลาจารึก เช่น ศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ 1 จารึกพ่อขุนรามคำแหง ถ้าเขียนลงบนวัสดุอื่นๆ เช่น แผ่นอิฐ เรียกว่า จารึกบนแผ่นอิฐ แผ่นดีบุก เรียกว่า จารึกบนแผ่นดีบุก และการจารึกบนใบลาน

                นอกจากนี้ยังมีการจารึกไว้บนปูชนียสถานและปูชนียวัตถุต่างๆ โดยเรียกไปตามลักษณะของจารึกปูชนียวัตถุสถานนั้นๆ เช่น จารึกบนฐานพระพุทธรูปสมัยสุโขทัย สมัยลพบุรี


จารึกบนฐานพระพุทธรูป วัดป่าข่อย จังหวัดลพบุรี 
ที่มาภาพ : http://pirun.kps.ku.ac.th/~b4927046/mon4_5_clip_image001_0000.jpg



จารึกวัดโพธิ์ จังหวัดนครปฐม 
ที่มาภาพ : http://www.openbase.in.th/files/u10/monstudies035.jpg


ศิลาจารึกหลักที่ 1 จารึกพ่อขุนรามคำแหง
ที่มาภาพ  http://www.thaigoodview.com/library/teachershow/nongkhai/thanagorn_n/plan_history/image/pic1130704120859.jpg

                เรื่องราวที่จารึกไว้บนวัสดุต่างๆ ที่พบในดินแดนประเทศไทย ส่วนมากจะเป็นเรื่องราวของพระมหากษัตริย์และศาสนา จารึกเหล่านี้มีทั้งที่เป็นตัวอักษร ภาษาไทย ภาษาขอม ภาษามอญ       ภาษาบาลี และภาษาสันสกฤต จารึกที่ค้นพบในประเทศไทยมีอยู่จำนวนมาก เช่น จารึกสมัย    ทวารวดี จารึกศรีวิชัย จารึกหริภุญชัย  และจารึกสุโขทัย

                                2.2 เอกสารพื้นเมือง เอกสารพื้นเมืองนับได้ว่าเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่เป็นลายลักษณ์อักษรที่สำคัญของประเทศไทย มักปรากฏในรูปหนังสือสมุดไทย และเรียกชื่อแตกต่างกันออกไป เช่น ตำนาน พงศาวดาร จดหมายเหตุ ดังมีรายละเอียด ดังนี้

1) ตำนาน เป็นเรื่องที่เล่าถึงเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในอดีต เล่าสืบต่อกันมาแต่โบราณจนหาจุดกำเนิดไม่ได้ แต่ไม่สามารถรู้ได้ว่าใครเป็นคนเล่าเรื่องราวเป็นคนแรก สิ่งที่พอจะรู้ได้ก็คือ มีการเล่าเรื่องสืบต่อกันมาเป็นเวลานานพอสมควร จนกระทั่งมีผู้รู้หนังสือได้จดจำและบันทึกลงเป็นลายลักษณ์อักษร ต่อมาจึงมีการคัดลอกตำนานเหล่านั้นเป็นทอดๆไปหลายครั้ง หลายครา ทำให้เกิดมีข้อความคลาดเคลื่อนไปเรื่อย ๆ ดังนั้น  เรื่องที่ปรากฏอยู่ในตำนานจึงอาจถูกเปลี่ยนแปลงไปจากเรื่องเดิม  เนื้อเรื่องของตำนาน ส่วนมากเป็นเรื่องเกี่ยวกับเหตุการณ์สำคัญของบ้านเมืองหรือชุมชนสมัยดั้งเดิมเกี่ยวกับปูชนียสถานและปูชนียวัตถุ หรือเกี่ยวกับพฤติกรรมของบุคคลสำคัญ เช่น พระมหากษัตริย์ วีรบุรุษ โดยสามารถจัดประเภทของตำนานไทยได้ 3 ลักษณะ คือ

1.1) ตำนานในรูปของนิทานพื้นบ้าน เช่น เรื่องพญากง พญาพาน ท้าวแสนปม

1.2) ตำนานในรูปของการบันทึกประวัติของพระพุทธศาสนา จุดมุ่งหมายเพื่อรักษาศรัทธา ความเชื่อ สัญลักษณ์ของพุทธศาสนา เช่น ตำนานพระแก้วมรกต

1.3) ตำนานในรูปของการบันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับเหตุการณ์บ้านเมือง ราชวงศ์ กษัตริย์ และเหตุการณ์ที่เกี่ยวกับมนุษย์และสัตว์ในอดีต เช่น ตำนานสิงหนวัติกุมาร ตำนานจามเทวีวงศ์  ตำนานมูลศาสนา ตำนานชินกาลมาลีปกรณ์

           2) พงศาวดาร พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำรัสให้ความหมายของพงศาวดารว่าหมายถึง เรื่องราวที่เกี่ยวกับพระเจ้าแผ่นดิน ซึ่งสืบสันติวงศ์ลงมาถึงเวลาที่เขียนนั้น แต่ต่อมามีการกำหนดความหมายของพงศาวดารให้กว้างออกไปอีกว่าหมายถึง การบันทึกเหตุการณ์ที่เกี่ยวกับอาณาจักรและกษัตริย์ที่ปกครองอาณาจักร   พงศาวดารจึงมีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีจวบจนกระทั่งสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น (รัชกาลที่ 4) สามารถจำแนกพงศาวดารได้ 2 ลักษณะคือ พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาและพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ เช่น พงศาวดารกรุงเก่าฉบับหลวงประเสริฐ   พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 2 ของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ และพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 1-4 ของเจ้าพระยาทิพากรวงศ์มหาโกษธิบดี (ขำ บุนนาค)
อย่างไรก็ตามแม้ว่าหลักฐานประเภทพงศาวดารจะมีข้อบกพร่องอยู่มาก แต่ก็เป็นหลักฐานที่มีประโยชน์ในการศึกษาประวัติศาสตร์

พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์

   
พงศาวดารสกลรัชกาลที่ 2 

                                 3) จดหมายเหตุ ในสมัยโบราณจดหมายเหตุ หมายถึง การจดบันทึกข่าวคราวหรือเหตุการณ์เรื่องหนึ่งๆ ที่เกิดขึ้นในวัน เดือน ปีนั้นๆ แต่ในปัจจุบันนี้ความหมายของคำว่า จดหมายเหตุได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม หมายถึง เอกสารทางราชการทั้งหมด เมื่อถึงสิ้นปีจะต้องนำชิ้นที่ไม่ใช้แล้วไปรวบรวมเก็บรักษาไว้ที่กองจดหมายเหตุแห่งชาติ มีคุณค่าด้านการค้นคว้าอ้างอิงและเอกสารเหล่านี้ เมื่อมีอายุตั้งแต่ 25-50 ปีไปแล้วจึงเรียกว่า จดหมายเหตุหรือบรรณสาร การบันทึกจดหมายเหตุของไทยในสมัยโบราณ   ส่วนมากบันทึกโดยผู้ที่รู้หนังสือและรู้ฤกษ์ยามดี โดยมีการบันทึกวัน เดือน ปี และฤกษ์ยามลงก่อนจึงจะจดเหตุการณ์ที่เห็นว่าสำคัญลงไว้ โดยมากจะจดในวัน เวลา ที่มีเหตุการณ์เกิดขึ้น หรือในวัน เวลา ที่ใกล้เคียงกันกับที่ผู้จดบันทึกได้พบเห็นเหตุการณ์นั้นๆ ด้วยเหตุนี้ เอกสารประเภทนี้จึงมักมีความถูกต้องในเรื่องวัน เดือน ปี มากกว่าหนังสืออื่นๆ เช่น จดหมายเหตุของหลวง เป็นจดหมายเหตุที่ทางฝ่ายบ้านเมืองได้บันทึกไว้เป็นเหตุการณ์ที่เกี่ยวกับพระมหากษัตริย์และบ้านเมือง จดหมายเหตุโหร เป็นเอกสารที่เกิดขึ้นเนื่องจากโหรซึ่งเป็นผู้ที่รู้หนังสือและฤกษ์ยามจดไว้ตลอดทั้งปี และมีที่ว่างไว้สำหรับใช้จดหมายเหตุต่างๆ ลงในปฏิทินนั้น เหตุการณ์ที่โหรจดไว้ โดยมากเป็นเหตุการณ์เกี่ยวกับดวงดาว



 จดหมายเหตุ ลา ลูแบร์ 


      

วิธีการทางประวัติศาสตร์

1-วิธีการทางประวัติศาสตร์



วิธีการทางประวัติศาสตร์

                การศึกษาประวัติศาสตร์มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับหลักฐานทางประวัติศาสตร์ กาลเวลาและนักประวัติศาสตร์ ดังนั้นจำเป็นต้องมีวิธีการในการรวบรวมค้นคว้าหาข้อมูลเพื่อนำมาวิเคราะห์หาเหตุผล และข้อสรุป ซึ่งจะเป็นข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ที่ใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุด โดยวิธีการทางประวัติศาสตร์ประกอบด้วยขั้นตอน ดังนี้

                ขั้นตอนที่ 1  การตั้งประเด็นที่จะศึกษา นับว่าเป็นขั้นตอนแรกของวิธีการทางประวัติศาสตร์ที่ นักประวัติศาสตร์ หรือผู้สนใจทางประวัติศาสตร์มีความสนใจอยากรู้ เหตุการณ์ประวัติศาสตร์ตอนใดตอนหนึ่ง โดยตั้งประเด็นคำถามว่า ศึกษาเรื่องอะไรในช่วงเวลาใด ทำไมจึงต้องศึกษา

                ขั้นตอนที่ 2  สืบค้นและรวบรวมข้อมูล ข้อมูลทางประวัติศาสตร์ คือ หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่สามารถสอบสวนเข้าไปให้ใกล้เคียงกับความเป็นจริงที่เกิดขึ้นได้ ประกอบด้วยหลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร เช่น โบราณสถาน โบราณวัตถุ คำบอกเล่าของผู้เห็นเหตุการณ์ และหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร เช่น ศิลาจารึก จดหมายเหตุ บันทึกและเอกสารต่างๆ ในการสะสม และรวบรวมข้อมูล ต่าง ๆ เหล่านี้ นักประวัติศาสตร์จำเป็นต้องใช้วิจารณญาณของตนสำรวจ เนื่องจากข้อมูลแต่ละประเภทเป็นผลิตผลที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้นโดยมีจุดประสงค์ที่แตกต่างกัน ดังนั้นต้องค้นหาต้นตอหรือสาเหตุของข้อมูลอย่างลึกซึ้งเท่าที่จะทำได้ เพื่อป้องกันมิให้ข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ถูกบิดเบือน

                ขั้นตอนที่ 3  การวิเคราะห์และตีความข้อมูลทางประวัติศาสตร์ โดยการนำข้อมูลที่ได้สืบค้นรวบรวม คัดเลือก และประเมินไว้แล้วนำมาพิจารณาในรายละเอียดทุกด้าน ซึ่งนักประวัติศาสตร์ต้องใช้เหตุผลเป็นแนวทางในการตีความเพื่อนำไปสู่การค้นพบข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ที่ถูกต้อง

                ขั้นตอนที่ 4  การคัดเลือกและประเมินข้อมูล นักประวัติศาสตร์จะต้องนำข้อมูลที่ได้รวบรวมไว้มาคัดเลือก และประเมินเพื่อค้นหาความเกี่ยวข้องสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลกับข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ที่ต้องการทราบ

                 ขั้นตอนที่ 5  การเรียบเรียงรายงานข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ที่ได้รับอันเป็นผลมาจากการวิเคราะห์และการตีความข้อมูล  หรืออธิบายข้อสงสัย  เพื่อนำเสนอข้อมูลในลักษณะที่เป็นการตอบ ตลอดจนความรู้  ความคิดใหม่ที่ได้จากการศึกษาค้นคว้าในรูปแบบการรายงานอย่างมีเหตุผล